ปล่อยโฆษณาเพลินสะเทือน กสทช.มั้ย..!!!
ภาพประกอบนี้อาจไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม แต่กระตุกให้เราคิดถึงเหตุการณ์บ่อยครั้งที่เราได้อ่านข่าวนักการเมืองเกาหลีถูกตัดสิน ซีอีโอตัวเป้งๆถูกจำคุก ครั้งนี้วงการเพลงสะเทือนเพราะสินบนในการเปิดเพลง ทั้งวงการโทรทัศน์ วิทยุ นี่ถือเป็นจริยธรรมในวงการธุรกิจ ขณะที่ในไทยเราต้องทนฟังการโฆษณาทั้งวันทั้งคืนของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยาอย่างไร้จรรยาบรรณ ผู้จัดรายการเหล่านี้ สถานีวิทยุธุรกิจที่ฉกฉวยช่องทางการสื่อสารของชุมชนไปใช้อย่างหน้าด้านๆกลับลอยนวลอยู่ได้เพราะ กสทช.บอกว่าเขาเหล่านั้นมีใบอนุญาตก่อนปี 2552อันเป็นปีที่ออกประกาศล่าสุด และสามารถขอต่อทะเบียนใบอนุญาตหรือต่ออายุการทดลองออกอา่กาศได้ถ้าถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิค ...!! (เป็นการบอกเล่าถึงข้อมูลในเวทีระดมข้อเสนอในรูปแบบองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา 12 กค. 54 ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด)นั่นคือมีการปรับข้อกำหนดจนเบายิ่งกว่านุ่น ขาดกลไกการกำกับเนื้อหากระทั่งการจำกัดเรื่องเวลาโฆษณา
ปัญหาจึงตกมาที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสสจ.ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องเรียกเหล่าผู้จัดรายการ ผู้บริหารสถานีวิทยุเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการโฆษณษาเผยแพร่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา เครื่องสำอางค์ (ทั้งที่น่าจะรู้อยู่แล้วเพราะต้องมีการสอบผู้ประกาศ)
ซึ่งอาสาสมัครผู้บริโภคได้รายงานถึงสถานการณ์ในพื้นที่ว่า จากการที่ปล่อยให้มีการโฆษณาอย่างเอิกเริกทำให้คนในชุมชนสมัครเป็นตัวแทนขายตรงหลายราย บางรายถึงขั้นขึ้นป้ายหน้าซอย หน้าหมู่บ้านริมถนน ทั้งที่เข้าใจว่าถ้าสินค้าหรือโฆษณาไม่ได้ก็ต้องมีการจับแล้วนี่ยังมีการโฆษณาอยู่แสดงว่าไม่มีปัญหาใช่มั้ย และมีทั้งที่รู้สถานการณ์ว่าไม่ถูกต้องแต่จะเร่งการบริโภคเพราะได้กำไรส่วนแบ่งสูงเป็นแรงจูงใจ
ปัญหาในพื้นที่ขณะนี้เกิดกับผู้สูงอายุพ่อแม่ปู่ย่าตายายผู้ป่วยที่หวังการรักษาจากความเชื่อถือศรัทธาเช่นมีการสาบาน ใบ้หวยในสินค้าบางตัว(ศรเทพศรทอง) จนลูกหลานมีความทุกข์ใจเพราะห้ามไม่ได้สถานีวิทยุก็เปิดประโคมกรอกหูอยู่ทุกวันโดยไร้การจัดการ
ซึ่งหลังจากการพูดคุยระดมความคิดเห็นแล้ว มีการสรุปเป็นข้อเสนอจากแกนนำอาสาสมัครผู้บริโภคของสมาคมผู้บริโภคสงขลาได้ให้ข้อเสนอทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับนโยบายดังนี้
ควรเพิ่มบทลงโทษต่อสถานีวิทยุ สื่อเคเบิลทีวี ที่ทำผิดซ้ำซาก และกำหนดโทษปรับให้สูงกว่าที่เป็นอยู่นี้มากกว่าเท่าตัว
ข้อกำหนดที่สถานีต้องมีการบันทึก 30 วันย้อนหลังควรจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเฝ้าฟังและตรวจสอบรายการเป็นระยะโดยมีองค์ประกอบของอาสาสมัครผู้บริโภคและเป็นกลไกที่รับรองจากกสทช.หรืองค์การอิสระผู้บริโภคให้การเฝ้าฟังมีประสิทธิภาพทางการใช้ข้อกฎหมาย
หากมีการจับปรับผู้ดำเนินรายการ ผู้บริหารสถานีต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยโดยการจัดทำสปอตชี้แจงผู้ฟังให้ระวังการโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงเกินจริงเป็นระยะทุกต้นชั่วโมงก่อนรายการทุกรายการ
การดำเนินการจากนี้อาสาสมัครผู้บริโภคจะจัดทำบันทึกการเฝ้าฟังยื่นเรื่องต่อสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กสทช.เขต4 สคบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอย่างเข้มงวดเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
โดยจะมีความร่วมมือของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นหลักคือ สาธารณสุขจังหวัด และองค์กรผู้บริโภคในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผู้เข้าร่วมเห็นพ้องกันว่าปัญหาผู้บริโภคต้องมีทั้งความร่วมมือจัดการในกรอบระเบียบกำหมาย และการเฝ้าระวังเสนอปัญหาที่เชื่ีอมโยงการจัดการให้ทันต่อสถานการณ๕์อย่างอิสระรอบด้านสอดคล้องกับบทบาทภาระหน้าที่ขององค์การอิสระที่จะทำหน้าที่เติมเต็มช่องว่างและเชื่อมโยงข้อจำกัดในการทำหน้าที่กำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานที่ต้องทำตามกรอบระเบียบเฉพาะเรื่องจนขาดความเชื่อมโยงและไม่สามารถทำงานเชิงรุกได้อย่างคล่องตัว
ทั้งนี้การดำเนินงานรูปแบบองค์การอิสระผู้บริโภคจะต้องมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำมาระดมความคิดเห็นให้มีความชัดเจน โดยองค์ประกอบในการนำเสนอข้อคิดเห็นต้องเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาในพื้นที่ มีปฏิบัติการทำงานเฝ้าระวังปัญหาผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ที่ยังอาจจะขาดอยู่คือนักวิชาการด้านกฎหมายซึ่งมีการติดต่อแล้วแต่ไม่สะดวกเข้าร่วมก็ควรจัดทำเป็นเอกสารเพื่อข้อความคิดเห็นให้มีความรอบด้านต่อไป
Relate topics
- Set top box เลือกแบบไหนดี !!(Cyber Weekend)
- “ปรับ-เปลี่ยน-ปลด-ปล่อย” คลิกชีวิต 55 เรื่องดีรับปีใหม่
- ฮั้วหรือไม่
- เรื่องไม่เข้าท่าจากการใช้สมาร์ทโฟนอย่างไม่เข้าที
- ความเข้าใจผิดๆ ต่อยานอกบัญชี ยาที่คนจนไม่มีสิทธิ/คอลัมน์...ได้อย่างไม่เสียอย่าง
- โค้งท้าย (IM) ก่อนประมูล 3G "จุดยืน-จุดร่วม" กสทช.-ค่ายมือถือ
- ถกไม่ลงตัวสั่งเลิกประมูลเบอร์สวยมือถือ
- เหตุเกิดบนเครื่องบิน : พลังของหนึ่งเสียงร้องในยุคสังคมออนไลน์ / ประสาท มีแต้ม
- ยูเอ็นแนะรัฐ-กสทช.กำหนดทิศทางโทรคม
- กสทช. เร่งเดินหน้าร่างประกาศทีวีดิจิทัล